elearningsw http://elearningsw.siam2web.com/

 

 

                                          
  

 

 

     เมื่อพูดถึงคำว่าสังคมสงเคราะห์มีคำที่เกี่ยวข้องอยู่หลายคำ ในที่นี้จะยกมา 2 คำ ได้แก่ สังคมสงเคราะห์ (Social Work)   และนักสังคมสงเคราะห์ (Social Worker) สองคำนี้มีการให้ความหมายไว้หลากหลาย 

          ความหมายของสังคมสงเคราะห์  

          สมาพันธ์นักสังคมสงเคราะห์ระหว่างประเทศ (International Federation of Social Workers:IFSW) ให้ความหมายของคำสังคมสงเคราะห์” (Social Work)  ไว้ว่าสังคมสงเคราะห์เป็นวิชาชีพที่ส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคม  การแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ของคน  และกระตุ้นเสริมพลังให้คนสามารถช่วยตนเองได้  โดยใช้ทฤษฎีพฤติกรรมของคนและระบบสังคม  สังคมสงเคราะห์ช่วยเชื่อมระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อมโดยรอบ  สังคมสงเคราะห์มีรากฐานที่สำคัญคือ หลักสิทธิมนุษยชนและหลักความยุติธรรมในสังคม            

          ศ.ยุพา  วงศ์ไชย (2534:16) กล่าวว่า สังคมสงเคราะห์ (Social Work) คือ ศาสตร์และศิลป์ของการจัดหาบริการเพื่อช่วยส่งเสริมความสามารถของบุคคลให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตน ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพและดำรงชีพอยู่ได้อย่างเป็นสุข

          พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) พูดถึงสังคมสงเคราะห์ไว้ในการวิสัชนาเรื่อง " ความหมายแท้จริงของการสังคมสงเคราะห์"  ไว้ว่า   ตามศัพท์ (สังคมสงเคราะห์) แปลง่ายๆ ว่า การสงเคราะห์สังคม   แต่ถ้าจะแปลให้ลึกกว่านั้นก็มีความหมายทางธรรม   สงเคราะห์ คำบาลีเป็น สงฺคห (สังคห) แปลว่า ประมวล รวบรวม จับมา รวมเข้าด้วยกัน ยึดเหนื่ยวจิตใจให้รวมกันเป็นหนึ่ง ผูกใจกันไว้   สังคห ที่แปลว่า ยึดเข้าไว้ด้วยกันนั้น หมายถึง ยึดในแง่นามธรรมและยึดในแง่รูปธรรม ทางนามธรรม คือ ยึดเหนี่ยวผูกจิตใจให้รวมกันเป็นหนึ่ง ทางรูปธรรม คือ ให้คนมารวมกัน ประสานเข้าด้วยกัน

          สังคห เป็นภาษาบาลี แต่เมื่อจะเอาเข้ามาในไทย เราเอารูปสันสกฤตซึ่งมีตัว "ร" คือ สังครห เข้ามา แล้วไทยก็แผลงเป็นสังเคราะห์บ้าง สงเคราะห์บ้าง ความจริงนั้น ทั้งสองคำนี้เป็นคำเดียวกัน แต่เราใช้สงเคราะห์ในความหมายหนึ่ง และสังเคราะห์ในอีกความหมายหนึ่ง ถ้าเราจะใช้ "สังคห" ให้ถูกต้องตามความหมายทางธรรม จะต้องก้าวไปให้ถึงขั้นนี้ คือ ทำให้รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

          คำว่า สังคห หรือ สงเคราะห์นี้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ด้วยกันเป็นชุดเดียวกับคำอื่นอีกสามคำ เรียงลำดับเป็น สังคห  อวิวาท  สามัคคี  และเอกีภาพ  คือ ความยึดเหนี่ยวประสานกันไว้ ความไม่ทะเลาะวิวาท ความพร้อมเพรียง และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  ที่เราใช้ว่า  เอกภาพ  เวลาแปลเป็นภาษาอังกฤษ ถ้าแปลอย่างเบื้องต้นก็ว่า help หรือ assistance แต่ถ้าจะแปลให้ลึกลงไปในสาระ ก็แปลกันตั้งแต่ sympathy จนถึง solidarity หรือ social integration"               

          สมาคมนักสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย  ได้สรุปองค์ประกอบสำคัญของคำว่าสังคมสงเคราะห์ว่าประกอบด้วย

                - เป็นศาสตร์

                - เป็นศิลป์

                - เป็นงานที่เป็นวิชาชีพ โดยนักสังคมสงเคราะห์เป็นผู้ปฏิบัติงาน

                - เป็นงานที่ต้องใช้ทรัพยากรในชุมชน

                - เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม

                - เป็นงานที่ช่วยให้บุคคล กลุ่ม และชุมชนสามารถทำหน้าที่ทางสังคมได้ด้วยดี

 

          นักสังคมสงเคราะห์ (Social Worker) 

                นักสังคมสงเคราะห์ คือ ผู้ปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์  ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

                1.ผู้ปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์ในลักษณะวิชาชีพ (Professional) เป็นผู้ที่ผ่านกระบวนการฝึกฝนในด้านความรู้ ทัศนคติ และทักษะทางสังคมสงเคราะห์จากสถาบันทางการศึกษา

                2.ผู้ปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์ในลักษณะอาสาสมัคร (Voluntery)

 

          การเรียนการสอนสังคมสงเคราะห์

                ปัจจุบันหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต  เปิดสอนอยู่ 2 แห่ง คือ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

  ตรงนี้เป็นแบบฟอร์มการติดต่อกับพวกเรานะค่ะ

ติดต่อสอบถาม หรือ ติ-ชมเวบไซต์

 ได้ทุกอย่างค่ะ จะรีบตอบทุกคำถามที่ได้รับเลยค่ะ เมล์มาคุยกันนะค๊ะ

  

ติดต่อเรา
ชื่อของคุณ
อีเมลของคุณ
เบอร์โทรของคุณ
เรื่องที่ติดต่อ
ข้อความ
Verify Code

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 3,910 Today: 2 PageView/Month: 25

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...